บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
โทร 089-498-4816
  • th

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง


ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

สัญญาก่อสร้างหมายถึง?

สัญญาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างสินทรัพย์รายการเดียว เช่น สะพาน ตึก เขื่อน ท่อส่งน้ำมัน ถนน เรือ อุโมงค์ หรือก่อสร้างสินทรัพย์หลายรายการซึ่งสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หรือต้องพึ่งพากันในด้านการออกแบบ เทคโนโลยีและหน้าี่หรือวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ขั้น สุดท้าย เช่น สัญญาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันและสัญญาก่อสร้างโรงงานและอุปกรณ์หลายรายการซึ่งมี ความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้สัญญาก่อสร้างยังรวมถึงสัญญาการให้บริการท่ีเก่ียวข้องโดยตรงกับการ ก่อสร้างสินทรัพย์ เช่น สัญญาว่าจ้างผู้จัดการโครงการ หรือสถาปนิก และสัญญาการซ่อมบ ารุงหรือการรื้อ ถอนสินทรัพย์และสัญญาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมภายหลังการรื้อถอนสินทรัพย์

สัญญาก่อสร้างตามมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ มี 2 ลักษณะ คือ

1. สัญญาราคาคงที่หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งมีการตกลงด้วยราคาคงท่ีหรือด้วยอัตราคงที่ต่อหน่วยของผลผลิตที่ระบุไว้ในสัญญา ในบางกรณีราคาหรืออัตราที่ตกลงกันขึ้นนอยู่กับการ เปลี่ยนแปลงของต้นทุนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา

2. สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม หมายถึง สัญญาก่อสร้างซึ่งกิจการจะได้รับคืนต้นทุนตามที่ตกลงกัน บวกส่วนเพิ่ม ซึ่งส่วนเพิ่มนั้นกำ หนดเป็นอัตราร้อยละของต้นทุนดังกล่าวหรือเป็นจำนวนคงท่ี

รายได้ค่าก่อสร้าง

กิจการต้องวัดมูลค่ารายได้ค่าก่อสร้างด้วยมูลค่ายุติธรรมของส่ิงตอบแทนท่ไีด้รับหรือท่คี้างรับ ซ่ึง ประกอบด้วย

1. จำนวนรายได้เมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงตามสัญญา

2. จำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญา อันเกิดจากการดัดแปลงงาน การเรียกร้อง ค่าชดเชย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ หากเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อดังนี้

   1) อยู่ในขอบเขตของการมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้

   2) สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ การวัดมูลค่าของรายได้จะถูกกระทบด้วยความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์ในอนาคต กิจการต้องทบทวนประมาณการเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือเมื่อความไม่แน่นอนนั้นหมดไป การดัดแปลงงานตามคา ส่งัของลูกค้าจะทา ให้ขอบเขตงานตามสัญญาเปล่ียนแปลงไป ซ่ึงอาจทา ให้ รายได้ค่าก่อสร้างเพ่ิมข้ึนหรือลดลง จา นวนเงินท่เีก่ยีวข้องกบั การดัดแปลงงานจะรวมเป็นรายได้ค่าก่อสร้าง ได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

   2.1) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ท่ลีูกค้าจะอนุมัติการดัดแปลงงานและจา นวนรายได้ท่เีกิดจากการ ดัดแปลงนั้น

   2.2) สามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ ค่าชดเชย หมายถึง จำนวนที่กิจการผู้รับงานก่อสร้างจะเรียกเก็บจากลูกค้าหรือบุคคลที่สามเพื่อ เรียกคืนต้นทุนที่ไม่ได้รวมอยู่ในราคาตามสัญญา เช่น

    - ค่าชดเชยจากการท่ลูกค้าทำให้การก่อสร้างล่าช้า

    - ความผิดพลาดในการกำหนดรายละเอียดที่ใช้หรือการออกแบบ หรือการดัดแปลงงานที่ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่

ต้นทุนการก่อสร้างประกอบด้วยรายการทุกข้อต่อไปนี้

1. ต้นทุนที่เกียวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญา ตัวอย่างเช่น

   - ต้นทุนค่าแรงงานและค่าควบคุมงานที่เกิขั้นณ สถานที่ก่อสร้าง

   - ต้นทุนวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง

   - ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ทีใช้ในการก่อสร้าง

   - ต้นทุนในการย้ายอาคาร เครื่องจักร และวัสดุไปหรือกลับจากสถานที่ก่อสร้าง

   - ต้นทุนในการเช่าอาคารและอุปกรณ์

   - ต้นทุนการออกแบบและการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญา ก่อสร้าง

   - ประมาณการต้นทุนในการแก้ไขและประกันผลงาน ซึ่งรวมถึงต้นทุนในการรับประกันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

   - ค่าชดเชยที่บุคคลที่สามเรียกร้อง รายได้ที่กิจการได้รับจากผลพลอยได้ซึ่งไม่รวมอยู่ในรายได้ค่าก่อสร้าง อาจนำไปลดต้นทุน ข้างต้นได้ เช่น รายได้จากการขายวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง และจากการจ าหน่ายอาคาร และอุปกรณ์เมื่อสิ้นสุดสัญญาก่อสร้าง

2. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไป ซึ่งสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญา ตัวอย่างเช่น

   - ค่าประกันภัย

   - ต้นทุนการออกแบบและการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคซ่ึงไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงาน ก่อสร้างตามสัญญา

   - ค่าโสหุ้ยการก่อสร้าง รวมถึง ต้นทุนในการจัดทำและประมวลผลค่าแรงงาน

   - ต้นทุนการกู้ยืม กจิการต้องใช้วิธีการปันส่วนต้นทุนที่เป็นระบบและสมเหตุสมผลอย่างสม่า เสมอเพื่อปันส่วน ต้นทุนทุกประเภทที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยต้องเป็นเกณฑ์ท่ีกา หนดจากระดับการ ดำเนินงานตามปกติของกิจกรรมการก่อสร้าง

3. ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง อาจรวมถึง ต้นทุนการบริหารทั่วไปและต้นทุนในการพัฒนา ซึ่งเป็นจำนวนที่กิจการสามารถเรียกเก็บตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง หรือไม่สามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างได้ ต้องมไม่นำไปรวม เป็นต้นทุนของสัญญาก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น

   - ต้นทุนการบริหารทั่วไป ซึ่งการเรียกช าระคืนจากผู้ว่าจ้างไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา

   - ต้นทุนในการขาย

   - ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งการเรียกชำระคืนจากผู้ว่าจ้างไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา

   - ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งไม่ได้นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ดังกล่าว

การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนค่าก่อสร้าง

เมื่อกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้รายได้ค่า ก่อสร้างและต้นทุนการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามลำดับ โดยอ้างอิง กับขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กรณีที่สัญ ญาก่อสร้างเป็นสัญญาราคาคงที่กิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญา ได้อย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

1. รายได้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

2. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ท่ีกิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจท่ีเก่ียวข้องกับงาน ก่อสร้าง

3. ต้นทุนการก่อสร้างที่จะต้องจ่ายจนกระทั่งานก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาสามารถวัดมูลค่าได้ อย่างน่าเชื่อถือ และขั้นความสำเร็จของงานก่อสร้าง ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานสามารถ ประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ

4. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งทำให้กิการสามารถเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เกิดขี้นนจริงกับ ต้นทุนที่ได้ประมาณไว้ กรณีที่สัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่มกิจการสามารถประมาณผลของงานก่อสร้าง ตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

   1) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

   2) ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างสามารถระบุได้อย่างชัดเจนและวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ ไม่ว่ากิจการสามารถเรียกต้นทุนนั้นคืนจากผู้ว่าจ้างได้หรือไม่