บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
โทร 089-498-4816
  • th

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง


ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

รายละเอียดสินค้า

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ตั้งแต่ต้นปีนี้ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เริ่มบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2562 และกำหนดว่า จะเริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยจะมาแทนที่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งจะถูกยกเลิกไป

แต่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงมหาดไทยประกาศขยายระยะเวลาการดำเนินการที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เฉพาะในปี 2563 เช่น เลื่อนการแจ้งประเมินภาษีจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2563 และเลื่อนการชำระภาษีจากเดือนเมษายนเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ฯลฯ สาเหตุเพราะปัจจุบันกฎหมายลำดับรอง (กฎหมายลูก) ใน พ.ร.บ. นี้ราว 8 ฉบับ ที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลังรับผิดชอบยังไม่เรียบร้อย เลยต้องเลื่อนกำหนดต่างๆ ออกไป

ภาษี พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 ที่เริ่มใช้ในปี 2563

ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผู้เสียภาษี ได้แก่ ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทุกคน ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 (มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนดหรือสิ่งปลูกสร้าง) โดยจะเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถือครอง และอัตราภาษีขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็น 4 ประเภท

1. เกษตรกรรม

2. ที่อยู่อาศัย

3. อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย

4. ที่รกร้างว่างเปล่า

ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีต้องเสียภาษีทุกปี และต้องชำระภายในเดือนเมษายนของปีนั้นๆ เหมือนกับการชำระภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งถูกยกเลิกไป (ยกเว้นปี 2563 สามารถชำระภาษีได้ถึงเดือนสิงหาคม)

อย่างไรก็ตาม มูลค่าของที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งห้องชุด จะใช้ ‘ราคาประเมินทุนทรัพย์’ (ราคาประเมินฯ) ของกรมธนารักษ์มาใช้ ส่วนปี 2563 นี้ใช้บัญชีราคาประเมินฯ ปี 2559-2562 มาใช้ ขณะเดียวกันภาษีที่ดินฯ จะเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่น

ใครไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่?

พ.ร.บ. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินสูงสุด และเป็นกลไกลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้อาจทำให้ผู้ที่ถือที่ดินไว้จำนวนมากต้องปรับตัวให้เข้ากับอัตราภาษีใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชนที่ต้องการมีบ้านเพื่ออยู่อาศัย ภาครัฐจึงจะสนับสนุน โดยกรณีที่จะได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่

1. บ้านหลังหลัก 1 หลัง

• ในกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินมีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2563 และบ้านมีมูลค่าที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี

• ในกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะตัวบ้าน (สิ่งปลูกสร้าง) ตัวบ้านมูลค่าที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี

ทั้งนี้ กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลธรรมดามีชื่อเป็นเจ้าของ แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่ได้นำไปให้เช่า จะถือเป็นบ้านหลังอื่น ซึ่งต้องเสียภาษีตามปกติ

2. ที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดา

• ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรก (ปี 2563-2565)

• ปีที่ 4 เป็นต้นไป (2566) ได้รับการยกเว้นภาษีในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นถาวร

3. ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ ทรัพย์ที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (รัฐ / เอกชน)

4. สหประชาชาติ สถานทูต

5. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ที่ดินสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรรและนิคมอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การบรรเทาภาระภาษี ผู้ที่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากกฎหมายนี้จะได้บรรเทาภาระภาษีของส่วนต่าง เมื่อเทียบกับภาษีที่เคยเสียในปี 2562 ดังนี้

– ปีที่ 1: ภาษีเดิมปี 2562 + 25% ของส่วนต่าง

– ปีที่ 2: ภาษีเดิมปี 2562 + 50% ของส่วนต่าง

– ปีที่ 3: ภาษีเดิมปี 2562 + 75% ของส่วนต่าง

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเสียภาษี 1. ผู้เสียภาษีต้องตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง (หากไม่ถูกต้อง สามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้) 2. ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และ 3. ต้องจ่ายภาษีให้ตรงเวลา

สุดท้ายแม้จะเลื่อนระยะเวลาการใช้ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและส่ิงปลูกสร้างออกไป แต่ภาครัฐยังมีความหวังในการปฏิรูปภาษีอย่างต่อเนื่อง ต้นปีหน้าจะเห็นความชัดเจนกันแล้ว

อ้างอิง : thestandard.co / www.kapook.com

ราคา:
0.00 THB
หมวดหมู่:
บริการข้อมูลข่าวสาร
ปรับปรุงล่าสุด:
23 กรกฎาคม 2020
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รับทำภาษีอากร วางระบบบัญชี จดทะเบียนบริษัท จดห้างหุ้นส่วนจำกัด รับปิดงบ ปิดงบยื่นกรมสรรพากร ดูแลเรื่องภาษียื่นแบบ ปรึกษาภาษี ยื่นแบบประจำเดือน ปิดบัญชีประจำปี ตรวจสอบบัญชี บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
สอบถาม
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บิลเงินสดลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

บิลเงินสด สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้หรือไม่?

สอบถาม
จัดทำแบบเงินกองทุนทดแทนประจำปี

บริการงานด้านประกันสังคม บริการจัดทำและนำส่งแบบเงินกองทุนทดแทนประจำปี

สอบถาม
สรรพากรขยายเวลายื่นแบบฯ

ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีให้ครอบคลุมแก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป

สอบถาม
บริการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล

ในรูปแบบบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบุคคลธรรมดา­­ในรูปแบบของห้างร้าน

สอบถาม
ให้คำปรึกษาด้านประกันสังคม

บริการงานด้านประกันสังคม บริการให้คำแนะนำและคำปรึกษาด้านประกันสังคมแก่กิจการ

สอบถาม
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

เรายินดีบริการให้คำปรึกษาวางระบบบัญชี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

สอบถาม
ครม. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 63

ครม. ไฟเขียวยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2563 แก่บริษัทที่รับผู้พ้นโทษเข้าทำงาน

สอบถาม
กองทุน SSF ต่างจาก LTF อย่างไร

RMF ปรับเกณฑ์ใหม่ ไม่มีขั้นต่ำ!! กองทุน SSF คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว

สอบถาม
//updateEventProduct(id)